วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน4

ตอบคำถาม แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 2
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย

      ตอบ  โดยแกนนำสำคัญภายในคณะราษฎร สาเหตุมาจากผลพวงหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หมวด2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่มมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกขา,2475,536)

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 
ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
      ตอบ  หมวด3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
           มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
           หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
           มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
            หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
            มาตรา 62 การศึกษษอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่ให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
             มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศีกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษษดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
             มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร 
              มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
       ตอบ  เหมือนกันตรงที่ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการศึกษาอบรม และรัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ และการศึกษาภาคบังคับไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียน

4. ประเด็นที่1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490  ประเด็นที่2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
      ตอบ แตกต่างกัน คือ  ประเด็นที่1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ ส่วนประเด็นที่2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 มีรายละเอียดและเป็นระบบมากขึ้น คือ

  1. สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยในการศึกษาอบรม สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการศึกษษอบรมตามความสามารถของบุคคล
  2. หน้าที่ของชนชาวไทย บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือการศึกษาขั้นมูลฐาน ตามเงื่อนไขที่กำหนด
  3. กำหนดแนวนโยบายของรัฐ จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรง อานามัยสมบูรณ์ มีความรู้ประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
  4. ส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมการจัดระบบการศึกษา อบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ การศึกษาชั้นอุดมศึกษา ดำเนินได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
  5. การจัดอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

5.  ประเด็นที่3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534  ประเด็นที่4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
       ตอบ แตกต่างกัน คือ ประเด็นที่3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 คือ รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ  ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ ส่วนประเด็นที่4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 คือ ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
   ตอบ  เพราะว่าในแต่ละยุคสมัยนั้นการศึกษามีความแตกต่างและต้องการพัฒนามากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นจึงต้องระบุประเด็นต่างๆเพื่อเป็นแบบแผนในการพัฒนา

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด " บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ" จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
    ตอบ  เพราะว่าหากไม่กำหนด ก็จะทำให้คนในประเทศไม่เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ซึ่งรัฐมุ่งเน้นให้ทุกคนได้รับการศึกษา เพราะจะทำให้เรามีความรู้ ความสามารถ ซึ่งสามารถประกอบอาชีพภายในอนาคตได้
  หากรัฐไม่กำหนด คนในประเทศก็จะไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา ทำให้คนไทยไม่มีการศึกษา หรือการศึกษาของคนไทยจะตกต่ำ

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
    ตอบ  ฉบับที่5-10 (พ.ศ.2540-2550) ถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมก็จะทำให้ได้รับความช่วยเหลือในทุกๆด้านได้อย่างทั่วถึง

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
    ตอบ  เพราะว่า เด็กและเยาวชน คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า เราจึงควรต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนในวันนี้ให้ดี เพื่อในวันข้างหน้าจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความรู้ ซึ่งเราจะต้องให้ความเสมอภาคกันไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย มีการพัฒนาความเป็นปึกแผ่นในครอบครัวก่อนเพราะครอบครัวเป็นสถาบันแห่งแรกของเด็กและเยาวชน และควรให้โอกาสกับผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ  ในด้านการศึกษา
               1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี
               2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน
               3.  การมอบทุนการศึกษา
               4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น