วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน3

ตอบคำถาม

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร 
     ตอบ  เพราะมนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้ จำเป็นต้องพึ่งพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และการอยู่ด้วยกันในคนหมู่มากนั้น หากไม่มีบรรทัดฐานหรือข้อกำหนด อาจเกิดการขัดแย้งกันได้ หากไม่มีกฎหมายก็จะทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย ดังคำกล่าวที่ว่า  " ที่ใดมีสังคมที่นั้นมีกฎหมาย"

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร        
        ตอบ  อยู่ไม่ได้ เพราะว่า หากไม่มีกฎหมายสังคมก็จะเกิดความ
วุ่นวาย ไม่เป็นระเบียบเพราะ ต่างคนก็ต้องการทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ 

3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
       ความหมาย
               กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคน ที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ

      ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย 
                     1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
                       2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
                    3.ใช้บังคับทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติ สังคมจะสงบสุข
                    4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด 

ที่มาของกฎหมาย
                      1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร                                                       
                      2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน    
                            3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                           4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา                                            
                           5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น

              ประเภทของกฎหมาย ซึ่งมีการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ไปดังนี้                                                                                                                           
                ก. กฎหมายภายใน   มีดังนี้                                                                                                    
1.             1.กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร                                                
                        1.1กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร 

                        1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

                2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
             2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
             2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
                3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
            3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
            3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
                4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
            4.1 กฎหมายมหาชน
            4.2 กฎหมายเอกชน
         ข. กฎหมายภายนอก    มีดังนี้
                1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา    

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย  
    ตอบ  เพราะว่า ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆจึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย                                                       
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
       ตอบ  สภาพบังคับ(SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง 
ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
       ตอบ   แตกต่างกัน  คือ
         สภาพบังคับทางอาญา คือ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์  นำตัวจำเลยไปปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ประหารชีวิต  จำคุก กักขัง ปรับ
           สภาพบังคับคดีแพ่ง คือ เจ้าพนักงานบังคับคดี  นำยึด  หรือ อายัด ทรัพย์ หรือ สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้  มาใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย

      ตอบ   ระบบกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
      1.ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกาเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราว
คริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสาคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
     2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ

8.ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้างมีกี่ประเภทแต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
    ตอบ   แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก   กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
        แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
        แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
        แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
        แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
         กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
          กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
        มี 2 ประเภท
           1. กฎหมายภายใน

 ·                       -กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                        ·  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                        ·  กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                        ·  กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
           2. กฎหมายภายนอก

 ·                       - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                         ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                         ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
     ตอบ   ศักดิ์ของกฎหมาย คือ การจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่าง โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
          1. ออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
           2. การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม
           3. ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
    ตอบ   กระทำผิด เพระประชาชนประชุมอย่างสงบ ซึ่งรัฐบาลไม่มีสิทธิที่จะทำร้ายร่างกายประชาชน

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
     ตอบ   กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบัน หน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้


12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
    ตอบ   ถ้าเราไม่ได้ศึกษากฎหมายการศึกษาจะมีผลคือ เมื่อเราประกอบวิชาชีพครู เราก็จะไม่สามารถรู้ว่าสิ่งไหนที่ทำถูก ที่ทำผิด ไม่สามารถที่จะแนะนำตักเตือนนักเรียนได้









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น