วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน5

ตอบคำถาม แบบฝึกหัดบทที่3

1. นักเรียนอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
    ตอบ  ก. การศึกษา คือ  การเรียนรู้ของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกการอบรม การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการ การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 
ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
ค. การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง  การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. มาตรฐานการศึกษา  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา และเพื่อใช้เป็นหลักในการเปรียบเทียบสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง  การประเมินและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก   หมายถึง  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
ผู้สอน   หมายถึง  ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ครู  หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์    หมายถึง  บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา   หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
 ฒผู้บริหารการศึกษา    หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
 ณบุคลากรทางการศึกษา    หมายถึง  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ  

2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้างให้อธิบาย
      ตอบ  การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได่อย่างมีความสุข

 3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
       ตอบ   (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
                           (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
                           (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4. การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
       ตอบ  (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ  มีสาระสำคัญของหมวดนี้ มีดังนี้ (มาตรา 10-14) (คาหมาน คนไค, 2543, 31)
(1) การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quaality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย (Free Education) (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)
(2) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
(3) พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการ สถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
       ตอบ การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ  สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
      ตอบ  เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาสนองการปฎิรูปด้านระบบรายากรให้ประชาชนพึงพอใจในการบริการของรัฐมากขึ้น ซึ้งเรียกกันโดยทั่งไปว่าธรรมมาภิบาล

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
      ตอบ  ในหมวด 4  ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา  จะกล่าวถึงหลักการสำคัญของการจัดกระบวน
 การเรียนการสอน (มาตรา 22)  ซึ่งรวมถึงจุดมุ่งหมายและสาระเนื้อหาของหลักสูตร (มาตรา 23และ 27)  กระบวนการจัดการ (มาตรา 24) และการประเมินผล (มาตรา 25)  องค์กรที่จัดทำหลักสูตร (มาตรา 26) และเงื่อนไขของความสำเร็จอื่นๆ  ไม่ได้กล่าวโดยตรงว่า ต้องยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน
 เพราะอาจจะสร้างปัญหาเชิงกฎหมายในการบังคับใช้  และการตีความ  นอกจากนั้นในปรัชญาการเรียนการสอนควรหลีกเลี่ยงแนวคิดแบบสุดโด่งที่แยกขั้วระหว่างการเรียนของนักเรียน
 และการสอนของครูมาตรา 22  จึงกล่าวอย่างเป็นกลางๆ ไว้โดย "ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด"

10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
       ตอบ  เห็นด้วย

11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
        ตอบ โดยการนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อจริงนักเรียนสามารถเห็นภาพได้จริง

12. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
        ตอบ มีการประดิษฐ์สื่อที่ใหม่ๆ น่าสนใจ และนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่ไปกับการศึกษา

อนุทิน4

ตอบคำถาม แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 2
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย

      ตอบ  โดยแกนนำสำคัญภายในคณะราษฎร สาเหตุมาจากผลพวงหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หมวด2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่มมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกขา,2475,536)

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 
ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
      ตอบ  หมวด3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
           มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
           หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
           มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
            หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
            มาตรา 62 การศึกษษอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่ให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
             มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศีกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษษดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
             มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร 
              มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
       ตอบ  เหมือนกันตรงที่ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการศึกษาอบรม และรัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ และการศึกษาภาคบังคับไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียน

4. ประเด็นที่1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490  ประเด็นที่2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
      ตอบ แตกต่างกัน คือ  ประเด็นที่1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ ส่วนประเด็นที่2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 มีรายละเอียดและเป็นระบบมากขึ้น คือ

  1. สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยในการศึกษาอบรม สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการศึกษษอบรมตามความสามารถของบุคคล
  2. หน้าที่ของชนชาวไทย บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือการศึกษาขั้นมูลฐาน ตามเงื่อนไขที่กำหนด
  3. กำหนดแนวนโยบายของรัฐ จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรง อานามัยสมบูรณ์ มีความรู้ประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
  4. ส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมการจัดระบบการศึกษา อบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ การศึกษาชั้นอุดมศึกษา ดำเนินได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
  5. การจัดอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

5.  ประเด็นที่3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534  ประเด็นที่4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
       ตอบ แตกต่างกัน คือ ประเด็นที่3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 คือ รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ  ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ ส่วนประเด็นที่4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 คือ ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
   ตอบ  เพราะว่าในแต่ละยุคสมัยนั้นการศึกษามีความแตกต่างและต้องการพัฒนามากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นจึงต้องระบุประเด็นต่างๆเพื่อเป็นแบบแผนในการพัฒนา

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด " บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ" จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
    ตอบ  เพราะว่าหากไม่กำหนด ก็จะทำให้คนในประเทศไม่เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ซึ่งรัฐมุ่งเน้นให้ทุกคนได้รับการศึกษา เพราะจะทำให้เรามีความรู้ ความสามารถ ซึ่งสามารถประกอบอาชีพภายในอนาคตได้
  หากรัฐไม่กำหนด คนในประเทศก็จะไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา ทำให้คนไทยไม่มีการศึกษา หรือการศึกษาของคนไทยจะตกต่ำ

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
    ตอบ  ฉบับที่5-10 (พ.ศ.2540-2550) ถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมก็จะทำให้ได้รับความช่วยเหลือในทุกๆด้านได้อย่างทั่วถึง

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
    ตอบ  เพราะว่า เด็กและเยาวชน คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า เราจึงควรต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนในวันนี้ให้ดี เพื่อในวันข้างหน้าจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความรู้ ซึ่งเราจะต้องให้ความเสมอภาคกันไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย มีการพัฒนาความเป็นปึกแผ่นในครอบครัวก่อนเพราะครอบครัวเป็นสถาบันแห่งแรกของเด็กและเยาวชน และควรให้โอกาสกับผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ  ในด้านการศึกษา
               1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี
               2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน
               3.  การมอบทุนการศึกษา
               4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการ


วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน3

ตอบคำถาม

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร 
     ตอบ  เพราะมนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้ จำเป็นต้องพึ่งพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และการอยู่ด้วยกันในคนหมู่มากนั้น หากไม่มีบรรทัดฐานหรือข้อกำหนด อาจเกิดการขัดแย้งกันได้ หากไม่มีกฎหมายก็จะทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย ดังคำกล่าวที่ว่า  " ที่ใดมีสังคมที่นั้นมีกฎหมาย"

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร        
        ตอบ  อยู่ไม่ได้ เพราะว่า หากไม่มีกฎหมายสังคมก็จะเกิดความ
วุ่นวาย ไม่เป็นระเบียบเพราะ ต่างคนก็ต้องการทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ 

3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
       ความหมาย
               กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคน ที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ

      ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย 
                     1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
                       2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
                    3.ใช้บังคับทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติ สังคมจะสงบสุข
                    4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด 

ที่มาของกฎหมาย
                      1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร                                                       
                      2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน    
                            3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                           4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา                                            
                           5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น

              ประเภทของกฎหมาย ซึ่งมีการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ไปดังนี้                                                                                                                           
                ก. กฎหมายภายใน   มีดังนี้                                                                                                    
1.             1.กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร                                                
                        1.1กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร 

                        1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

                2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
             2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
             2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
                3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
            3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
            3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
                4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
            4.1 กฎหมายมหาชน
            4.2 กฎหมายเอกชน
         ข. กฎหมายภายนอก    มีดังนี้
                1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา    

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย  
    ตอบ  เพราะว่า ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆจึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย                                                       
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
       ตอบ  สภาพบังคับ(SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง 
ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
       ตอบ   แตกต่างกัน  คือ
         สภาพบังคับทางอาญา คือ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์  นำตัวจำเลยไปปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ประหารชีวิต  จำคุก กักขัง ปรับ
           สภาพบังคับคดีแพ่ง คือ เจ้าพนักงานบังคับคดี  นำยึด  หรือ อายัด ทรัพย์ หรือ สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้  มาใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย

      ตอบ   ระบบกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
      1.ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกาเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราว
คริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสาคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
     2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ

8.ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้างมีกี่ประเภทแต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
    ตอบ   แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก   กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
        แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
        แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
        แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
        แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
         กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
          กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
        มี 2 ประเภท
           1. กฎหมายภายใน

 ·                       -กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                        ·  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                        ·  กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                        ·  กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
           2. กฎหมายภายนอก

 ·                       - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                         ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                         ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
     ตอบ   ศักดิ์ของกฎหมาย คือ การจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่าง โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
          1. ออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
           2. การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม
           3. ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
    ตอบ   กระทำผิด เพระประชาชนประชุมอย่างสงบ ซึ่งรัฐบาลไม่มีสิทธิที่จะทำร้ายร่างกายประชาชน

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
     ตอบ   กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบัน หน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้


12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
    ตอบ   ถ้าเราไม่ได้ศึกษากฎหมายการศึกษาจะมีผลคือ เมื่อเราประกอบวิชาชีพครู เราก็จะไม่สามารถรู้ว่าสิ่งไหนที่ทำถูก ที่ทำผิด ไม่สามารถที่จะแนะนำตักเตือนนักเรียนได้