วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อสอบปลายภาค


ข้อสอบปลายภาค

                คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ ให้นักเรียนทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน

1.             กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ

ตอบ กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคน ที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ

กฎหมายการศึกษา คือ กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบัน หน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้

     จะเห็นได้ ที่มาและการบังคับใช้ของกฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษาจะแตกต่างกัน ซึ่งจะแตกต่างกันตรงที่ กำหมายทั่วไปนั้นจะเกิดจากรัฏฐาธิปไตย์ ซึ่งจะบังคับกับประชาชนทุกคน ส่วนกฎหมายการศึกษา ที่มาจะมาจากหน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้

ซึ่งเป็นการบังคับใช้เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรง

 

2.             รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2550)

ตอบ  รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญ คือ เกี่ยวกับสิทธิ และหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับ เด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม ในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้ คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น

         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2489

หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวไทย  มาตรา 14 ภายในบังคับ แห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายใน ร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุม สาธารณะ การตั้งสมาคม การตั้งคณะกรรมการพรรคการเมือง การอาชีพ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งบทกฎหมาย (ราชกิจจานุเบกษา, 2489, 327-328)

         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2490

หมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวไทย มาตรา 23 กล่าวว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุมสาธารณะ การตั้งสมาคม การอาชีพ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งตัวบทกฎหมาย (ราชกิจจานุเบกษา, 2490, 8)

      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2492

           หมวด3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
           มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
           หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
           มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
            หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
            มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่ให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
             มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ

             มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
              มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3.             พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ

ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มี ๒๐ มาตรา มีความสำคัญ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา  มารดา  หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี                                   

 ประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ

มาตรา  6  ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา

                                เมื่อผู้ปกครองร้องขอ  ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

 

 

4.             ท่านเข้าใจว่า หากมีใครมาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้

ตอบ ถ้าไม่มีใบประกอบวิชชาชีพก็ไม่สามารถปฏิบัติการสอนได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา จะเห็นได้จากมาตรา ๔๖  กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ หรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา และถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา แต่มาสอนในโรงเรียนโดยที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ จะต้องถูกดำเนินการจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

5.             สมบัติเป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร

ตอบ จะเห็นได้จาก มาตรา 26  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่  ห้ามมิให้ผู้ใด กระทำการดังต่อไปนี้

 (1) กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

                  (2) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตหรือการรักษา

                       พยาบาลของเด็กที่อยู่ในความดูแลของตนจนน่าเกิดอันตรายแก่

                       ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

                 (3)  บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่

                       สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิด

                 (4) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใดเพื่อรับเด็ก

                       หรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็กเว้นแต่เป็นการ

                       กระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาติจากทางราชการแล้ว

                 (5) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใด

                      ให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อนหรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการ

                      ขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการ

                      แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก

                 (6) ใช้ จ้าง หรือวานให้เด็กทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตราย

                      แก่ร่างกายหรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวาง

                      ต่อการพัฒนาการของเด็ก

                 (7) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือ

                     ให้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า อันมีลักษณะเป็น

                     การขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก หรือมี

                     ลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก

                (8) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่

                     เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ห้ามมิให้เด็กเข้า

                (9) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือ

                     กระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่ง

                     ค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด

และโทษของการกรำทำผิด คือ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6.             ช่วงที่นักเรียนไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม2 และในเทอมต่อไป นักเรียนเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

                ตอบ มาตรา ๖  การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


                จะจัดการศึกษาโดยให้นักเรียนเกิดความรู้ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาความรู้ พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมไปด้วย

               มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม
การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้
หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นพิเศษ


                จะจัดการศึกษา โดยให้ความเสมอภาค และไม่มีการแบ่งแยกเด็ก แต่อาจจะดูแลพิเศษเกี่ยวกับเด็กที่ร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ

7.             ให้นักเรียนสะท้อนความคิดการใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้ พอสังเขป

ตอบ เป็นวิชาที่ดีมาก สามารถให้เราได้ศึกษาความรู้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ากับยุค

อนุทิน10

ให้นักศึกษาศึกษาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เมื่อนักศึกษาอ่านพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ตอบคำถามดังต่อไปนี้

1. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด  และมีผลบังคับใช้เมื่อใด
ตอบ     พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2546 และบังคับใช้เมื่อวันที่ 10ตุลาคม 2546

2. ผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
ตอบ     นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร

3.
 เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
ตอบ     เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนี้ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น และประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

4.
 พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ     มี 9 หมวด 53 มาตรา
หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
หมวด 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด

5.
 วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ     (1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
          (2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
          (3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
          (4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
          (5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
          (6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
          (7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

6.
 หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ตอบ     สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ

7.
 หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
ตอบ     ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

8.
 แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี
ตอบ     4 ปี

9.
 ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
ตอบ     สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และคณะผู้ประเมินอิสระ

10.
 การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
ตอบ     ประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริหาร ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กำหนด

อนุทิน9

ให้นักศึกษาอ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและตอบคำถามต่อไปนี้
1.    มีการบังคับใช้กำหนดไว้กี่วัน
 ตอบ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

   2.  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ให้นักศึกษาอ่านและสรุปและให้ ความหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว มีดังนี้
ตอบ   เด็ก  บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
เด็กเร่ร่อน เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ

เด็กกำพร้า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้

เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก   เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก

 เด็กพิการ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้น จะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง

เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมาย

นักเรียน  เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน

นักศึกษา  เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน

บิดามารดา  บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่ก็ตาม

ผู้ปกครอง บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพนายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย

 ครอบครัวอุปถัมภ์ บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร

การเลี้ยงดูโดยมิชอบ การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนหรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำ ที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

ทารุณกรรม  การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเกิดอันตรายทั้งร่างกายเเละจิตใจ

สืบเสาะและพินิจ การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลหรือครอบครัวนั้นามหลักการทางกฎหมาย ทั้งทางเเพทย์หรือทางด้านตำรวจ

สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติ

สถานแรกรับ สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว

สถานสงเคราะห์ สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ  สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพเพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็ก

3. คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ประกอบด้วยใครบ้าง กี่คน
ตอบ คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุเป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์แต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ จำนวน 18 คน

4.กรรมผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งกี่ปี และพ้นจากตำแหน่งกรณีใดบ้าง
ตอบ  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกันเเละพ้นจากตำเเหน่งเมื่อตาย ลาออก  รัฐมนตรีให้ออก ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เป็นบุคคลล้มละลายเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ  ขาดการประชุมติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร

5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูต่อไปจะต้องปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างไรตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กฉบับนี้
ตอบ ในฐานะที่จะเป็นครูก็ต้องศึกษา พรบ.คุ้มครองเด็กให้ละเอียดเเละปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพราะครูต้องรู้ว่าการคุ้มครองเด็กเเต่ละคนมีข้อจำกัดอย่างไรบ้างเพื่อลดปัญหาที่ตามมา เเละปฎิบัติกับเด็กทุกคนเท่าเทียมกันไม่เลือกที่จะปฏิบัติคนใดคนหนึ่ง

6.ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน  ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก  ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก  ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ เช่น ทุบตีเด็ก ไม่ให้เด็กเรียนหนังสือ หรือพฤติกรรมอื่นๆที่ส่งผลกระทบทัั้งทางร่างกายเเเละจิตใจของเด็ก เป็นต้น

7.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง
ตอบ  -  กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
  - จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
  - บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
  - โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
   - บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
   -  ใช้ จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
   -  บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
   -  ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า
  -  บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด
  -  จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์

8..เด็กประเภทใดบ้างที่ควรได้รับการสงเคราะห์
ตอบ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่
เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า
เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท
เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล
-  เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
-  เด็กพิการ 
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
9.เด็กประเภทใดที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
ตอบ เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่
เด็กที่ถูกทารุณกรรม
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

10.นฐานะที่ท่านจะเป็นครูตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กท่านจะมีวืิธีการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาอย่างไร และกรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรทำอย่างไร
ตอบ เเจ้งหรือตักเตือนทุกครั้งที่เด็กกระทำความผิดไม่ปล่อยหรือลงโทษตาม พรบ.คุ้มครองเด็กระบุไว้เพื่อไม่ให้เด็กกระทำซ้ำในครั้งต่อๆไปหรือกระทำความผิดลดน้อยลงเช่นเดียวกับนักเรียนนักศึกษา

11.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้ประเด็นอะไรบ้าง  มีโทษระวางปรับและจำคุกอย่างไรบ้างอธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำกลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคำยังไม่เสร็จสิ้นการดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป

12.ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
ตอบ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร